การบ้านe com

ประโยชน์ของการค้าแบบออนไลน์ หรือ E-commrece


1.1. การค้ารูปแบบ บุคคล กับ บุคคล – (C2C : Consumer to Consumer)


เป็นการค้าและทำธุรกรรมระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือ ระหว่างผู้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยกันเอง ที่ไม่ใช่รูปแบบของร้านค้าหรือธุรกิจ ซึ่งการซื้อ-ขายนี้อาจทำผ่านเว็บไซต์ที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะ อาทิ การซื้อ-ขายในรูปของการประกาศซื้อ-ขาย หรือประมูลสินค้า ที่ผู้ใช้แต่ละคนสามารถนำข้อมูลสินค้าของตนมาประกาศซื้อ-ขายไว้บนเว็บไซต์ต่างๆ เช่น www.ThaiSecondhand.com, www.ebay.com

2. การค้ารูปแบบ ธุรกิจ กับ บุคคล (B2C : Business to Consumer)

เป็นการค้าและทำธุรกรรมระหว่าง ธุรกิจที่เป็นรูปแบบบริษัทฯ หรือร้านค้ากับผู้บริโภคที่เป็นบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นการค้าแบบขายปลีก ที่มีการสั่งซื้อสินค้า จำนวนไม่มากและมูลค่าการซื้อ-ขายแต่ละครั้งจำนวนไม่สูงมากนัก โดยการค้าแบบนี้มักชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เว็บไซต์ที่มีรูปแบบลักษณะนี้เช่น www.ToHome.com, www.MissLily.com

3. การค้ารูปแบบ ธุรกิจ กับ ธุรกิจ (B2B : Business to Business)

เป็นการค้าและทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจที่เป็นในรูปแบบ บริษัทหรือร้านค้าด้วยกัน ส่วนใหญ่จะมีการสั่งซื้อสินค้าและมีมูลค่าการซื้อ-ขายแต่ละครั้งจำนวนสูง การค้าแบบนี้มักชำระเงินผ่านธนาคาร ในรูปของ Letter of Credit (L/C) หรือ ในรูปของ Bill of Exchange อื่นๆ เช่น www.TARADb2b.com, www.FoodMarketExchange.com

4. การค้ารูปแบบ ธุรกิจ กับ รํฐบาล (B2G : Business to Government)

เป็นการค้าระหว่างธุรกิจที่เป็นในรูปแบบของเอกชนกับองค์กรของรัฐ การค้าลักษณะนี้ทางรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก เช่นพวกการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ โดยเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการลักษณะนี้ได้แก่ www.gprocurement.or.th, www.gsa.gov

2.ให้นักศึกษาบอกประโยชน์ของการค้าแบบออนไลน์ หรือ E-commrece



1. การสร้างงานใหม่ ธุรกิจขนาดย่อมจะเป็นธุรกิจที่สร้างงานใหม่เพราะ เป็นการริเริ่มจากความคิดสร้างสรรค์ทำธุรกิจของผู้ประกอบการ จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสสำหรับตลาดแรงงาน เช่น ในปี พ.ศ. 2540-42 ประเทศไทยได้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องลดปริมาณแรงงานลง(Down Sizing)โดยการให้คนงานออกจากงาน คนที่ว่างงานมักจะหันมาเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมได้ง่ายและธุรกิจขนาดย่อมนั้นสามารถเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้ต่อไป สำหรับธุรกิจขนาดย่อมสามารถสร้างงานใหม่ได้ คือ การลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ หรือ การขยายธุรกิจเดิมส่งเสริมการมีงานทำ และช่วยทำให้มาตรฐานการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมสูงขึ้นเพราะในการดำเนินการธุรกิจนั้น จำเป็นต้องมีการจ้างบุคคลเข้าทำงาน อันก่อให้เกิดรายได้ เกิดอำนาจซื้อ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้มีรายได้นำไปซื้อปัจจัย 4 ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งมีผลดีต่อความเป็นชีวิตของตัวผู้ประกอบการเอง ส่งผลให้ผลดีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น และมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นด้วยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน( Quality of Working life)


2. การสร้างนวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่กล่าวนี้ มักจะมีจุดเริ่มต้นจากการวิจัยตลาดหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตลอดจน การค้นคว้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแก่ลูกค้าซึ่งมีส่วนช่วยเหลืออย่างมีคุณค่าให้เกิดขึ้นกับมาตรฐานและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยที่แผนกวิจัยของธุรกิจขนาดใหญ่มุ่งเน้นปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีคุณภาพตามความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค การศึกษาถึงนวัตกรรมแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว จะต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรมของลูกค้าจากของธุรกิจขนาดย่อมในการทำงานวิจัย ช่วยให้เกิดการพัฒนาทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี สินค้า และบริการใหม่ ๆ ที่ให้ความสะดวกความสบาย ความพอใจแก่ผู้บริโภคได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะธุรกิจมีการแข่งขัน และพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นผู้นำทางด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในด้านการผลิต ธุรกิจขนาดย่อมจะช่วยกระตุ้นการแข่งขันในตลาดและช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่


3. สร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ ผู้ที่เริ่มประกอบธุรกิจสามารถเรียนรู้จากการประกอบการของธุรกิจขนาดย่อม เป็นแหล่งในการฝึกทักษะ สร้างความเชี่ยวชาญ การลองผิดลองถูกเพื่อสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ได้ต่อไปในอนาคต


4. ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า การเพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เป็นสถานการณ์ซึ่งธุรกิจมีการแข่งขันด้านการขาย ถ้ามีผู้ผลิตที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท บริษัทขนาดใหญ่เหล่านั้นมีอำนาจการต่อรองสูง ผูกขาดด้านราคา ไม่มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ แต่ถ้าหากมีธุรกิจขนาดย่อมเข้ามาแข่งขันด้วยจะทำให้การแข่งขันด้านราคาลดลง ตลอดจนมีการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมาตรฐานของสินค้าการบริการ ซึ่งเป็นการเพิ่มมาตรฐานการครองชีพให้แก่ประชาชนได้ เพราะเมื่อมีการลงทุนเพื่อธุรกิจอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดรายได้แก่สังคมในรูปต่าง ๆ ทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น ซึ่งมีผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อธุรกิจได้ชำระภาษีให้กับรัฐ รัฐก็นำไปใช้ในการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน


5. ช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่ให้ผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจกล่าวได้ว่าหน้าที่บางอย่าง ธุรกิจขนาดย่อมมักจะทำได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ อีกทั้งธุรกิจขนาดใหญ่นั้นอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ครบทุกประการเพราะไม่เกิดความคล่องตัว เช่นการผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค จัดจำหน่ายและกิจกรรมต่างๆ จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบบางประการให้กับธุรกิจขนาดย่อม เช่นหน้าที่ในการจัดจำหน่าย การค้าส่งหรือค้าปลีก เป็นต้น ทั้งนี้เพราะธุรกิจขนาดย่อมมีความคล่องตัวสูง สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดย่อมเป็นหน่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับเงินตรา การทำธุรกรรม ส่วนประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของธุรกิจขนาดย่อมจะเหมือนกับธุรกิจขนาดใหญ่คือ สร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศ การคิดค้นนวัตกรรม กระตุ้นการแข่งขัน ส่งเสริมสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนผลิตสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ

3.ข้อจำกัดของการค้าแบบออนไลน์หรือ E-Commerce


• ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet ข้อมูลบนบัตรเครดิต

อาจถูกดักฟังหรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้

การส่งข้อมูลจึงต้องมรการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนเพื่อให้ข้อมูลของลูกค้า

ได้รับความปลอดภัยสูงสุด

• ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยงสำหรับการชำระเงินทาง

อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการชำระเงินยังต้องผ่านธนาคารที่เป็นของต่างประเทศ

• ปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่าย

การสื่อสาร เช่น ระบบเคเบิล ระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง

จึงทำให้ชนบทที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงและใช้บริการ Internet ได้

• E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้

ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการมนเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้อง

ไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี

• ด้านรัฐบาล ในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่คนละประเทศกันจะใช้กฎหมายของประเทศใดเป็นหลัก

หากมีการกระทำผิดกฎหมายในการการกระทำการซื้อขายลักษณะนี้ ความยากลำบากในการ

ติดตามการซื้อขายทาง Internet อาจทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการเรียกเก็บภาษี เงินได้และ

ภาษีศุลกากร การที่ E-Commerce ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค และการปฏิบัติงานของภาครัฐบาล ทำให้รัฐบาลอาจเข้ามากำหนดมาตรการ

เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ขายที่ใช้บริการ E-Commerce รวมทั้งให้ความสนใจในการพัฒนา

บุคลากร การพัฒนาปัจจัยที่จะเพิ่มความสะดวกทางด้านโทรคมนาคมสื่อสาร